โครงงานขนมตะโก้

โครงงานวิชา IS1
เรื่อง ขนมตะโก้วุ้น
จัดทำโดย
นางสาว รัญชิดา ยินดี  ชั้นม. 4/7 เลขที่ 27
ที่ปรึกษา
อาจารย์เกรียงไกร ทองชื่นจิต

โรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม

กิตติกรรมประกาศ

           โครงงานis  เรื่องขนมตะโก้  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขนมไทยเพื่อสุขภาพของเยาวชน (ให้มีคุณค่าทางโภชนาการ) จำนวน 10 สูตร เพื่อส่งเสริมการผลิตร้านขนมไทยเพื่อสุขภาพให้มีช่อง ทางที่แพร่หลาย มีการดำเนินการ ดังนี้ สำรวจขนมตะโก้ที่วางจำหน่ายตามท้อง ตลาด พบว่า ขนมตะโก้วางจำหน่ายตามท้องตลาดนั้น มีวัตถุดิบในการทำที่เหมือนกัน ทำให้ตัวข้าพเจ้าได้ศึกษาคิดค้นการทำขนมตะโก้แบบใหม่ขึ้นมา โดยออกแบบ 1 ครั้ง จนได้ขนมตะโก้เที่ทำมา กะทิ  และข้าพเจ้าผู้จัดทำยังได้ลดปริมาณน้ำตาลและกะทิให้เหมาะกับบุคคลที่ทานหวาน ทานมัน มากไม่ได้อีกด้วย นอกจากนี้ ข้าพเจ้าผู้จัดทำยังได้นำสีจากธรรมชาติใช้กับการทำขนมตะโก้ในครั้งนี้ สีจากธรรมชาติที่นำมาทำก็หาได้ง่ายๆ ตามท้องบ้าน เช่น สีเขียว ที่มาจากใบเตย  สีม่วง ที่มาจากดอกอัญชัน เป็นต้น วิธีการคน กะทิ  ต้องใช้เวลาการคนพอสมควรกว่าจะเข้ากัน หากคนหรือเปิดไฟแรงเกินก็จะทำให้กะทิแป้งจะแข็งตามที่เราต้องการไม่ได้
            จากการทำโครงงานนี้ ทำให้ขนมตะโก้ที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยลง ปลอดภัยจากสีที่ทำมาจากเคมี และสามารถนำขนมตะโก้นี้ ไปจำหน่ายสร้างความแปลกใหม่ด้วยเนื้อที่ทำมาจากกะทิ และให้อนุรักษ์และได้รู้สูตรวิธีทำตะโก้ที่ถูกต้องและอร่อยมากยิ่งขึ้น และการจัดทำโครงงานครั้งนี้สำเร็จรุร่วงไปได้ดัวยดีเนื่องจากได้คำปรึกษาจาก อาจารย์ เกรียงไกร ทองชื่นจิต  ข้าพเจ้าจึงขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้



บทคัดย่อ
              โครงงานเรื่องขนมตะโก้มีที่มาจากผู้ทำ รู้สึกหลงไหล่ในขนมไทยโบราณในปัจจุบันขนมไทยเริ่มหมดไปพร้อมกับวัฒนธรรมที่เสื่อมถอยเนื่องจากคนในปัจจุบันได้นำเอาวันธรรมตะวันตกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเพื่อเป็นการอนุรักษ์สูตรขนมหวานไทยพวกเราจึงจัดทำโครงงานเล่มนี้ขึ้นเพื่อศึกษาค้นคว้าสูตร และวิธีทำขนมตะโก้สีสวยซึ่งเป็นขนมหวานไทยชนิดหนึ่งและได้รวบรวมไว้ในโครงงานเล่มนี้ เพื่อให้บุคคลที่สนใจได้ศึกษาและเป็นแนวทางต่อไป
             การทำขนมตะโก้ เรามีการทดลองทำจนกว่าจะแน่ใจว่าสามารถรับประทานได้และสามารถนำไปจำหน่าย และยังมีรสชาติที่ดั้งเดิมคงอยู่












บทที่1
ที่มาและความสำคัญ
         ขนมตะโก้ จัดเป็นขชนมไทยที่อยู่คู่ควรกับคนไทยมานานแสนนาน โดยทั่วไปชาวไทยจะทำขนมเฉพาะในงานเลี้ยงพระ งานมงคลต่างๆ
         ขนมไทย  เนื่องจากปัจจุบันมีขนมต่างๆจากนานาประเทศเข้ามาในประเทศไทยมาก ทั้งยังมีขนมกรุบกรอบที่ผลิตภายในประเทศ ซึ่งขนมกรุบกรอบเหล่านี้เข้ามามีอิทธิพลต่อการรับประทานขนมของเด็กในปัจจุบันรวมทั้งผู้ใหญ่ด้วยก็ชอบทานขนมกรุบกรอบที่ไม่มีประโยชน์ ซึ่งแตกต่างจากคนไทยในสมัยโบราณที่มีการรับประทานขนมไทยหลังจากการรับประทานอาหารเสร็จแล้ว อาจเป็นเพราะยุคสมัยได้เปลี่ยนไป ลักษณะการทำงานความเร่งรีบในแต่ละวัน การแข่งขันกันทางด้านการทำงาน การเรียน ลักษณะการดำเนินชีวิต ความผูกพันในครอบครัว ทำให้ไม่มีเวลาในการมาสนใจในเรื่องของอาหารการกินมากนักก็แตกต่างๆจาก ในสมัยโบราณที่ให้ผู้ชายทำงานให้ผู้หญิงอยู่บ้านทำอาหารก็จะมีเวลาในการทำขนมไทย แกะสลักผักผลไม้ชนิดต่างๆก่อนที่จะนำมาประกอบอาหารและรับประทานซึ่งจะนำวัตถุดิบที่ใช้นั้นมาจากธรรมชาติ เพราะในสมัยนั้นประเทศไทยยังไม่ได้รับอิทธิพลของต่างชาติเข้ามามากนักทั้งความเจริญทางด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีก็ไม่มีเหมือนปัจจุบันทำให้เห็นวัฒนธรรมประเพณีต่างๆที่เป็นของไทยได้เด่นชัด ด้วยเหตุและปัจจัยในด้านต่างๆที่กล่าวมานั้นทำให้คนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จักขนมไทยมากนักหรือรู้จักเพียงแค่ผิวเผิน ทั้งที่ขนมไทยนั้นนอกจากจะมีสีสันสวยงามน่ารับประทานแล้ว ยังให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วยแต่ คนส่วนใหญ่คิดว่าขนมไทยเมื่อทานแล้วจะทำให้อ้วน แต่ในขนมไทยก็มีประโยชน์ที่ทุกคนยังไม่รู้ แล้วขนมไทยเป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยมาตั้งแต่โบราณและยังเป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่รู้จักกันดี ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อน ประณีตในการทำ ตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการทำที่กลมกลืนพิถีพิถันในเรื่องรสชาติ สีสัน   และ ความสวยงาม กลิ่นหอม ขนมไทยยังมีประโยชน์ในการประกอบพิธีต่างๆเป็นต้น
วัตถุประสงค์
      1.เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสูตรขนมไทย
      2.เพื่อส่งเสริมด้านการรับประทานขนมไทย
      3.เพื่ออนุรักษ์ขนมไทยที่เป็นเอกลักษณ์ด้านอาหารของไทยไว้
      4.เพื่อเผยแพร่สูตรขนมไทย

สมมุติฐาน
หวังว่าจะได้รับประโยชน์จากการทำโครงงาน เพื่อนำไปประกอบอาชีพในอนาคต และสามารถประยุกต์ขนมตะโก้ธรรมดาเป็นตะโก้รสต่างๆ 
ขอบเขต
เน้นกลุ่มนักเรียน ครู โรงเรียนราชินีบูรณะ ระยะเวลาในการดำเนินโครงงาน ระหว่างวันที่ 1กรกฎาคม - 5  กรกฎาคม พ.ศ 2561
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.เป็นแนวทางในการทำกิจกรรมเสริมเพื่อหารายได้ระว่างเรียน
2.ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
3.เพื่อนำวัสดุในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด




บทที่2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ข้าวโพด





ข้าวโพด ชื่อสามัญ Corn
ข้าวโพด ชื่อวิทยาศาสตร์  Zea mays จัดอยู่ในวงศ์หญ้า (POACEAE หรือ GRAMINEAE)มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ ในปัจจุบันมีการปลูกทั่วไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ลำต้นนั้นมีลักษณะอวบกลมและตั้งตรงแข็งแรง มีหลายขนาดตั้งแต่เล็กไปใหญ่ และมีหลากหลายสี เช่น สีสีนวล เหลือง ขาว หรือสีม่วงดำ
  • ข้าวโพดที่เรานำมากินนั้น ถ้าเป็นข้าวโพดอ่อนจะมีแป้ง กาก และสารต้านอนุมูลอิสระ ส่วนข้าวโพดดิบ ๆ นั้นไม่ควรนำมารับประทาน เพราะข้าวโพดดิบจะมีแป้งที่ไม่ย่อย หากกินเข้าไปจะทำให้ท้องอืด เพราะแป้งดังกล่าวจะไปหมักอยู่ในท้อง
  • ผู้สูงอายุที่มีปัญหา มีอาการท้องอืดบ่อย ๆ หรือว่าลำไส้ย่อยได้ยาก รวมถึงผู้ที่เพิ่งผ่าตัดช่องท้องใหม่ ๆ ไม่ควรรับประทาน เพราะจะทำให้ท้องอืดได้ง่าย
  • สำหรับบางรายที่กินข้าวโพดต้มสุกแล้วยังมีอาการท้องอืด อาจเป็นเพราะลำไส้ของผู้นั้น ไวต่อแป้งบางตัวในข้าวโพด ก็เลยทำให้มีอาการท้องอืดได้ ส่วนวิธีแก้ ก่อนนำไปต้มควรแช่น้ำค้างคืนไว้ หรือหากถ้ามีเวลาก็ให้ต้มให้นานที่สุดก็จะช่วยป้องกันอาการท้องอืดได้
  • การรับประทานข้าวโพด ถ้าให้ดีควรรับประทานสลับกันไป เช่น วันนี้รับประทานข้าวโพดอ่อน วันต่อมาก็รับประทานข้าวโพดหวานต้ม ทั้งนี้การรับประทานมากหรือบ่อยจนเกินไป ก็จะทำให้ร่างกายได้แป้งและน้ำตาลในปริมาณมาก และทำให้อ้วนได้เช่นกัน
  • ข้าวโพดเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับเด็กหรือผู้ต้องใช้สายตามากหรือนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ เพราะจะช่วยสร้างเซลล์ประสาทที่จอตา ช่วยชะลอปัญหาจอประสาทตาเสื่อมหรือตาบอดจากจอตาเสื่อม และยังรวมไปถึงผู้ที่โดนแดด ควัน และฝุ่นละอองบ่อย ๆ หรือผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง หรือเป็นโรคอัลไซเมอร์ก็ควรรับประทานข้าวโพดเช่นกัน เพราะข้าวโพดมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่มาก

ข้าวโพดอ่อน




สรรพคุณของข้าวโพด
1.            เมล็ดมีรสหวานมัน ช่วยบำรุงร่างกาย (เมล็ด) หากความจำเสื่อมหรือลืมง่าย ให้ใช้ยอดเกสรเพศเมียแห้งเอามาใส่ในกล้องยาสูบแล้วใช้จุดสูบ (เกสรเพศเมีย)
2.            เมล็ดช่วยบำรุงปอดและหัวใจ (เมล็ด)
3.            ยอดเกสรเพศเมียและฝอยข้าวโพดใช้เป็นยาแก้เบาหวาน ด้วยการใช้ยอดเกสรเพศเมียที่ตากแห้งแล้วประมาณ 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (เกสรเพศเมีย, ฝอย)
4.            ยอดเกสรเพศเมียหรือไหมข้าวโพดและฝอยข้าวโพดช่วยแก้โรคความดันโลหิตสูง ตามตำรับยาจะใช้ยอดเกสรเพศเมียที่แห้งแล้ว เปลือกกล้วยแห้ง และเปลือกแตงโมแห้งอย่างละเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำดื่ม (เกสรเพศเมีย, ฝอย) ต้นและเมล็ดช่วยทำให้เจริญอาหาร (ต้น, เมล็ด)
6.            เกสรเพศเมียมีรสหวาน เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อกระเพาะลำไส้และทางเดินปัสสาวะ มีสรรพคุณขับความร้อนชื้น แก้อาการกระหายน้ำ (เกสรเพศเมีย)
7.            ช่วยแก้ไข้ทับระดู (ต้น)
8.            ช่วยแก้โลหิตกำเดา (เกสรเพศเมีย)
9.            หากตรากตรำทำงานหนัก มีอาการไอเป็นเลือดหรือตกเลือด ให้ใช้ยอดเกสรเพศเมีย นำมาต้มกับเนื้อสัตว์รับประทาน (เกสรเพศเมีย)
10.    ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน (ฝอย) รากและเมล็ดช่วยแก้อาการเจียน (ราก, เมล็ด) รากและเกสรเพศเมียช่วยแก้อาการอาเจียนเป็นโลหิต ด้วยการใช้รากข้าวโพดแห้งประมาณ 60-120 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ราก, เกสรเพศเมีย)
11.    ช่วยแก้โพรงจมูกอักเสบ จมูกอักเสบเรื้อรัง (เกสรเพศเมีย)
12.    สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มปอดอักเสบ โดยมีอาการเจ็บแปลบที่หน้าอกเพียงจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นซีกซ้ายหรือขวาก็ได้ และจะเจ็บเพียงชั่วขณะที่หายใจเข้าลึก ๆ ที่ปอดขยายตัวเต็มที่ เลยทำให้ส่วนที่อักเสบเกิดการเสียดสีกัน ถ้าเป็นเยื่อหุ้มปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสชนิดที่ไม่รุนแรงก็จะไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ แต่สำหรับอาการที่เห็นทั่วไปจะมีเหงื่อเย็น ๆ ออกจนเปียกข้างลำตัว ให้ใช้เกสรเพศเมีย 1 กิโลกรัม นำมานึ่งแล้วใช้พอกบริเวณปอด จะช่วยทำให้มีอาการดีขึ้น หรือจะนำมาต้มกับน้ำดื่มก็ได้ผลเช่นกัน (เกสรเพศเมีย)
13.    ช่วยแก้เต้านมเป็นฝี (เกสรเพศเมีย)
14.    ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร (เมล็ด)
15.    ช่วยรักษาอาการอาหารไม่ย่อย ด้วยการใช้ข้าวโพด 500 กรัมและเปลือกทับทิม 120 กรัม นำมาผิงไฟให้แห้ง แล้วบดให้เป็นผง นำมาผสมกับน้ำให้ได้ประมาณ 1,500 มิลลิลิตร แล้วใช้ดื่ม 10 มิลลิลิตรต่ออายุ 1 ปี จะช่วยรักษาอาการพิษได้ และในช่วงการรักษาให้ระวังคอยดูแลระดับน้ำและอุณหภูมิของร่างกายไม่ให้เกิดความผิดปกติด้วย (ไม่ระบุแน่ชัดว่าใช้ส่วนใดของข้าวโพด)
16.    สำหรับผู้ที่ได้รับการผ่าตัดโรคมะเร็งที่กระเพาะอาหาร ให้ใช้เมล็ดข้าวโพดนำมาต้มใส่เกลือเล็กน้อยและไข่ขาว แล้วนำมารับประทานเป็นอาหารเสริม (เมล็ด)
17.    ซังข้าวโพดมีรสจืดชุ่ม ใช้ซังแห้งประมาณ 10-12 กรัมนำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือนำมาเผาเป็นถ่านผสมกับน้ำดื่มเป็นยาแก้บิด แก้อาการท้องร่วง (ซัง)
18.    ราก เกสรเพศเมีย ซัง และเมล็ดเป็นยาขับปัสสาวะ ตามตำรับยาจะใช้รากแห้งประมาณ 60-120 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือจะใช้ยอดเกสรเพศเมียหรือซังข้าวโพดเอามาต้มกับน้ำดื่มแทนน้ำชาก็ได้ (ราก, เกสรเพศเมีย, ฝอย, ซัง, เมล็ด) ใช้เกสรเพศเมียประมาณ 10-20 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่มทุกวันเป็นยาแก้โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรังหรือเฉียบพลัน ช่วยแก้โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงนิ่วในอวัยวะอื่น ๆ ด้วย (เกสรเพศเมีย)ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะกะปริดกะปรอย แก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ (ลำต้น, ใบ, เกสรเพศเมีย) ช่วยแก้ปัสสาวะขัด (ซัง)ราก ต้น และใบมีรสออกหวาน ใช้เป็นยาแก้นิ่ว ขับนิ่ว ตามตำรับยาให้ใช้ต้นและใบสดหรือแห้งจำนวนพอสมควร นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้นิ่ว ขับนิ่ว ถ้าเป็นรากให้ใช้รากแห้งประมาณ 60-120 กรัมนำมาต้มกับดื่ม (ราก, ต้นและใบ, ฝอย)
19.    เกสรเพศเมียหรือไหมข้าวโพดมีรสออกหวาน ช่วยขับนิ่วในถุงน้ำดี กระตุ้นให้น้ำดีขับเคลื่อน แก้ถุงน้ำดีอักเสบ มะเร็งในถุงน้ำดี และช่วยบำรุงน้ำดี (เกสรเพศเมีย)
20.    เกสรเพศเมียช่วยบำรุงตับ แก้ตับอักเสบ ตับอักเสบเป็นดีซ่าน แก้ดีซ่าน แก้ไตอักเสบ ซึ่งตามตำรับยาแก้ไตอักเสบจะใช้เกสรเพศเมีย 30 กรัม, หญ้าหนวดแมว 20 กรัม, หญ้าคา 20 กรัม, ข้าวเย็นเหนือ 25 กรัม, ข้าวเย็นใต้ 25 กรัม และโกฐน้ำเต้า 5 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือหากไตอักเสบหรือเริ่มเป็นนิ่วที่ไต ให้ใช้ยอดเกสรเพศเมียพอประมาณ นำมาต้มจนข้นแล้วนำมากิน หรือหากเป็นโรคไตอักเสบเรื้อรัง ให้ใช้ยอดเกสรเพศเมียแห้ง 50 กรัมนำมาต้มกับน้ำกิน โดยจะมีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ ทำให้ไตทำงานได้ดีขึ้นจากอาการบวมน้ำและปริมาณของอัลบูมิน (albumin) ในปัสสาวะนั้นลดลง โดยคนไข้ที่กินติดต่อกันนาน 6 เดือนยังไม่พบอาการเป็นพิษแต่อย่างใด ส่วนอีกตำรับยาที่ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับไต ให้ใช้ยอดเกสรเพศเมียแห้ง 60 กรัม นำมาต้มกับกินวันละ 2 ครั้ง แล้วให้กินโพแทสเซียมคลอไรด์ร่วมด้วย โดยทั่วไปเมื่อกินยานี้ไปแล้ว 3 วัน ปัสสาวะจะมากขึ้น ปริมาณของอัลบูมินและสารจำพวกไนโตรเจนที่ไม่ใช่โปรตีนในปัสสาวะนั้นจะลดลง และคนไข้บางรายจะมีปริมาณของอัลบูมินในโลหิตสูง ส่วนบางรายความดันโลหิตจะลดลงจนสู่ระดับปกติ (เกสรเพศเมีย) ช่วยรักษาไต (ฝอย)
21.    ใช้ซังแห้งประมาณ 10-12 กรัมนำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือนำมาเผาเป็นถ่านผสมกับน้ำกินเป็นยาบำรุงม้าม (ซัง)
22.    ช่วยแก้อาการบวมน้ำ ด้วยการใช้ซังแห้งประมาณ 10-12 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือนำมาเผาให้เป็นถ่านแล้วผสมกับน้ำกิน หรือจะใช้ซังข้าวโพดแห้ง 60 กรัมผสมกับฮวงเฮียงก้วย 30 กรัม (ผลของ Liquidambar taiwaniana Hance.) นำมาต้มกับน้ำกิน ส่วนเกสรเพศเมียช่วยแก้อาการบวมน้ำ ขาบวม ซึ่งตามตำรับยาจะใช้เกสรเพศเมีย 30 กรัม, หญ้าหนวดแมว 20 กรัม, หญ้าคา 20 กรัม, ข้าวเย็นเหนือ 25 กรัม, ข้าวเย็นใต้ 25 กรัม และโกฐน้ำเต้า 5 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน ส่วนอีกตำรับจะใช้เกสรเพศเมีย 50 กรัม ผสมกับเมล็ดเทียนเกล็ดหอย 15 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่มวันละ 3 ครั้ง (เกสรเพศเมีย, ซัง)
23.    เมล็ดนำมาบดพอกแผลเพื่อทำให้เยื่ออ่อนนุ่มไม่ให้เกิดการระคายเคือง (เมล็ด)
24.    หากเกิดบาดแผล ให้ใช้เกสรเพศเมียสด ๆ นำมาตำให้ละเอียดแล้วใช้เป็นยาพอกแผล จะช่วยทำให้อาการดีขึ้น (เกสรเพศเมีย)
25.    สำหรับเด็กที่เป็นแผลที่ผิวหนัง และมีเลือดออก ให้ใช้ซังข้าวโพดนำมาเผาให้เป็นเถ้า แล้วนำมาผสมกับน้ำมันเมล็ดป่านหรือน้ำมันพืช ใช้เป็นยาทา (ซัง)
ประโยชน์ของข้าวโพด
1. คนไทยนิยมบริโภคข้าวโพดในรูปอาหารหวานหรืออาหารว่างในระหว่างมื้ออาหาร ด้วยการนำข้าวโพดหวานที่เมล็ดยังไม่แก่เต็มที่มาต้ม นึ่ง หรือปิ้งให้สุก หรืออาจใส่ในน้ำเกลือหรือเนยบ้างเพื่อช่วยเพิ่มรสชาติ เมนูอาหารที่ทำด้วยข้าวโพด ได้แก่ ขนมข้าวโพด ข้าวโพดเปียก ข้าวโพดนึ่งอบเนย ข้าวโพดอบเนย ข้าวโพดคั่วเค็ม ข้าวโพดคั่วหวาน ข้าวโพดน้ำกะทิ ข้าวโพดคลุกเสวยข้าวโพดปิ้งทาเนย ไอศกรีมข้าวโพดกะทิสด กระทงทองข้าวโพด ข้าวโพดหรุ่ม ข้าวโพดทอด น้ำนมข้าวโพด ฯลฯ หรืออาจนำมาแปรรูปทำเป็นแป้งข้าวโพด นม เหล้า เบียร์ วิสกี้ น้ำตาลผง น้ำหวาน น้ำเชื่อม เนยเทียม มายองเนส เครื่องสำอาง สบู่ น้ำยาทำความสะอาด ฯลฯ
2. ฝักอ่อนข้าวโพด หรือ ฝักข้าวโพดอ่อน จะนิยมนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น แกงเลียงข้าวโพดอ่อน แกงป่า แกงแค ราดหน้า ต้มส้มข้าวโพดอ่อน ห่อหมกข้าวโพด วิหดสวรรค์ ผัดผักรวมมิตร ข้าวโพดฝักอ่อนผัด ข้าวโพดผักรวมมิตรเปรี้ยวหวาน ข้าวโพดอ่อนชุบแป้งทอด ข้าวโพดทอดมัน หรือจะนำมาลวกจิ้มกินกับน้ำพริก ส่วนในต่างประเทศจะนิยมบริโภคในรูปข้าวโพดฝักอ่อนบรรจุกระป๋อง  และข้าวโพดอ่อน 100 กรัม จะให้พลังงาน 33 กิโลแคลอรี, โปรตีน 2.3 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 5.3 กรัม, ไขมัน 0.3 กรัม, น้ำ 91.8 กรัม, วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 0.4 มิลลิกรัม, วิตามินซี 23 มิลลิกรัม, เบตาแคโรทีน 12 ไมโครกรัม, แคลเซียม 4 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม เป็นต้น
เผือก





เผือก ชื่อสามัญ Taro ภาษาจีนเรียกว่า โอ่วไน, โอ่วถึง, โทวจือ
เผือก ชื่อวิทยาศาสตร์ Colocasia esculenta (L.) Schott จัดอยู่ในวงศ์บอน (ARACEAE)
เผือกมีสายพันธุ์มากกว่า 200 พันธุ์ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทเอดโด (eddoe) ได้แก่ Colocasia esculenta var. antiquorum หรือ Colocasia esculenta var. globulifera ประเภทนี้จะเป็นเผือกที่มีหัวขนาดไม่ใหญ่ และมีหัวเล็กกว่าล้อมรอบอยู่หลายหัว ทุกหัวใช้รับประทานและใช้ทำพันธุ์ได้ ส่วนอีกประเภทคือ ประเภทแดชีน (dasheen) ได้แก่ Colocasia esculenta var. esculenta ประเภทนี้เป็นเผือกที่มีหัวขนาดใหญ่ และมีหัวขนาดเล็กล้อมรอบ ใช้รับประทานได้ เผือกประเภทนี้ได้แก่ เผือกหอม ซึ่งเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกทั่วไปในบ้านเรา
เผือกในเมืองไทยเท่าที่ทราบจะมีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด ได้แก่ เผือกหอม (ชนิดหัวใหญ่ แต่ละหัวมีน้ำหนักประมาณ 2-3 กิโลกรัม และมีหัวเล็กติดอยู่กับหัวใหญ่เล็กน้อย ใช้ต้มรับประทานได้ มีกลิ่นหอม ส่วนกาบใบเป็นสีเขียว มีขนาดใหญ่)เผือกเหลือง (หัวสีเหลืองขนาดย่อม)เผือกไม้ หรือ เผือกไหหลำ (หัวมีขนาดเล็ก) และเผือกตาแดง (ตาของหัวเป็นสีแดงเข้ม มีหัวเล็กล้อมรอบหัวใหญ่เป็นกลุ่มจำนวนมาก กาบใบและเส้นใบเป็นสีแดง)
ประโยชน์และสรรพคุณของเผือก
1.ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย
2.ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรง ด้วยการใช้หัวเผือก 
3.ใช้เป็นยาลดไข้ 
4.เผือกเป็นอาหารที่ช่วยบำรุงลำไส้และแก้อาการท้องเสียได้ด้วย 
5.ช่วยแก้อาการอักเสบ ระงับอาการปวด
6.ใช้เป็นยาทาแก้แมลงสัตว์กัดต่อย
7.หากมีอาการปวดเมื่อย ปวดเมื่อยเส้นเอ็น ปวดกระดูก









บทที่3
ขั้นตอนการดำเนินงาน
วิธีการดำเนินงาน
1.สืบค้นหาข้อมูล
2.รวบรวมข้อมูล
3.จัดทำเนรูปเล่มรายงาน
4.จัดทำเป็นโครงงานเสนอหน้าชั้น

วัตถุดิบ
1.            แป้งถั่วเขียว 3 ช้อนโต๊ะ
2.             แป้งข้าวเจ้า300 กรัม
3.            น้ำตาลทราย 300 กรัม หัวกะทิ 200 กรัม
4.            น้ำสะอาด 1.5 กิโลกรัม หางกะทิ 300กรัม
5.            เกลือ ใบเตยหอม แห้ว









วิธีทำ
1.            นำแห้วมาปอกเปลือกล้างน้ำให้สะอาด หั่นแห้วเป็นชิ้นเล็ก ฝอยๆ ใส่หม้ออะลูมิเนียม
2.            bv6นำแป้งถั่วเขียวละลายน้ำสะอาด 1 กิโลกรัม เสร็จแล้วนำมากรองด้วยผ้าขาวบาง ยกขึ้นตั้งไฟปานกลาง โดยใช้ไม้พายผลักไปข้างหน้ากลับไปกลับมาพอแป้งเริ่มใส ประมาณ 30 นาที












3.      vc4จึงใส่น้ำตาล กวนต่อไปจนใสและแห้งลงมีลักษณะข้น จึงใส่แห้วที่หั่นเรียบร้อยแล้ว พอแป้งสุกก็ยกลงตักใส่กระทงใบเตย ประมาณครึ่งกระทงจนแป้งหมด








4
4.            ละลายแป้งข้าวเจ้ากับน้ำสะอาด 500 กรัม เติมหัวกะทิและหางกะทิลงไปใส่เกลือเล็กน้อย
bv5






5.            คนให้ละลาย นำไปตั้งไฟอ่อนจนข้นและ5. เดือดยกลง จากนั้น ใช้ช้อนตักใส่บนแป้งถั่วที่อยู่ในกระทงจนหมด ตั้งพักไว้รอจนกว่ากะทิเย็น เรียงตะโก้ลง ในถาดเพื่อรอจำหน่ายต่อไป
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขนมตะโก้








บทที่4
ผลการดำเนินการ
จากการศึกษาค้นคว้าและฝึกทำขนมตะโก้ผลที่ได้คือ ได้เรียนรู้การทำขนมที่ถูกวิธี และได้รับประทานขนมตะโก้ที่สะอาดอร่อย


บทที่5
สรุปอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
ขนมตะโก้ ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องการทำต่างๆ
  ขนมตะโก้มีรสชาติต่างๆ  ได้นำไปให้บุคคลต่างๆ รับประทานและสำรวจความพึงพอใจ โดยทั่วไปประชาชนจะทำขนมเฉพาะในงานเลี้ยง นับตั้งแต่การทำบุญเลี้ยงพระ งานมงคลและพิธีต่างๆ วัตถุดิบการทำกลมกลืน ในเรื่องของรสชาติไม่ต้องพูดถึง สีสัน สวยงาม  มีกลิ่นหอมเยาวยวน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานขนมตาละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะ
ข้อเสนอ

การทำรายงานค้นคว้าฉบับบนี้มีข้อมูลครบถ้วนแต่อาจจะไม่สมบูรณ์เพียงพอ ผู้สนใจจึงควรศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องการทำขนนตะโก้ ได้ที่แหล่งข้อมูลเพื่อการศึกษาที่ครบถ้วน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ภาษาเยอรมัน/คำศัพท์/สัตว์

7ขนมหวานยอดฮิตในเยอรมัน!!