บทความ

7ขนมหวานยอดฮิตในเยอรมัน!!

รูปภาพ
ขนมหวาน หลายคนยอมอ้วนเพื่อให้ได้กินขนมหวานเหล่านี้ อันดับที่ 7 Lebkuchen Lebkuchen เป็นขนมประจำช่วง christmas มีส่วนผสมหลักอย่าง น้ำตาล น้ำผึ้ง ถั่ว ทำให้เกิดรสสัมผัสที่ยากจะอดใจไหว ช่วงchristmas จนถึงช่วงปีใหม่ ชาวเยอรมันกินขนมชนิดนี้มากกว่า 100,000 คน โดยเฉลี่ยชาวเยอรมันกิน Lebkuchen ปีละ 1.3 กิโลกรัมต่อคน อันดับที่ 6 ลูกอมคาราเมล  ความหวานทีไม่อาจต้านทานได้ ลูกอมคาราเมลมีส่วนประกอบหลักคือ น้ำเชื่อม น้ำตาล ครีม และเนยซึ่งเป็นตัวช่วยไม่ให้ลูกอมแข็งจนเกินไป ลูกอมคาราเมลนั้นเหนียวมาก ถ้าเคี้ยวไม่ดีหรือผิดจังหวะ อาจทำให้คุณฟันหลุดได้ ชาวเยอรมันนิยมบริโภคลูกอมคาราเมล ปีละ 1.7 กิโลกรัมต่อคน อันดับ 5 คุ๊กกี้สอดไส้ เคล็ด ลับความอร่อยอยู่ที่ไข่ไก่และเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของขนมชนิดนี้ เครื่อง Mixer จะตีส่วนผสมจนขึ้นฟู โดยไม่ต้องใส่สารเคมีใดๆมาช่วยเลย ขนมที่อบสุกแล้วจะถูกสอดไส้ และเคลือบผิวหน้าด้วย Chocolate ผู้ผลิตรายหนึ่งบอกข้อมูลว่า ชาวเยอรมันบริโภคขนมชนิดนี้ ปีละ 1.8 กิโลกรัมต่อคน  อันดับ 4 เยลลี่รูปหมี ส่วนผสมหลักของขนมชนิดนี้ คือ เจลาตินและกลูโคสไซรัป โดยใส่กลิ

ทำยังไงให้เข้าใจการเรียนเยอรมัน

รูปภาพ
เทคนิคเรียนภาษาเยอรมันให้อ่านออก เขียนได้ หลายคนอยากรู้ว่าเก๋เรียนภาษาเยอรมันยังไง คือจริงๆก็ไม่ได้พูดเก่งนะคะ แค่พอเอาตัวรอดและเรียนจบเท่านั้นเอง ศัพท์แสงอะไรก็มีที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และในสายงานที่เรียนมา ถ้าให้ไปเจอศัพท์แพทย์ ศัพท์กฏหมายนี่ เก๋ก็เดี้ยงเหมือนกัน blog นี้เก๋มาแนะนำการเรียนภาษาเยอรมันของเก๋และที่สังเกตจากลูกสาววัย 3 ขวบกว่าๆว่ามีวิธียังไงคร่าวๆค่ะ  ขั้นแรก ฝึกฟัง แล้วพูดตาม เทคนิคอันหนึ่งของการเรียนภาษา (ไม่เฉพาะภาษาเยอรมัน) คือ การฟังเสียง และพูดเลียนเสียงก่อน ยังไม่ต้องรู้ความหมายก็ได้ ให้คำมันเข้าปาก ให้กรามขยับ ให้คำมันกระทบเหงือก ให้สมองกระเทือน แล้วเดี๋ยวมันจะค่อยๆซึมซับเอง แล้วค่อยมาหาความหมายแล้วจดจำค่ะ พูดๆซ้ำๆ เขียนทุกๆวัน คุณไม่จำเป็นต้องมีพรสวรรค์ ขอมีเพียงพรแสวง ก็สามารถที่จะพูดภาษาต่างประเทศได้ค่ะ  การจะได้ภาษาใหม่ ถ้าเอาแบบธรรมชาติแบบเริ่มจากศูนย์ เหมือนเด็กเล็กๆและเอาไปใช้งานได้จริง จะเริ่มจาก  ฟัง ----->  พูด -------->  อ่าน --------> เขียน เทคนิคนี้เก๋ได้มาจากการสอนลูกสาวอายุ 3 ขวบกว่าค่ะ พ่อเขาพูดภาษาเยอรมัน เก๋พูดไท

อนุสัญญาไซเตส

รูปภาพ
อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora-CITES) หรือที่รู้จักกันในชื่อย่อว่าไซเตส เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศที่มีเป้าหมายเพื่อควบคุมไม่ให้การค้าสัตว์ป่าและพืชป่าระหว่างประเทศ เป็นภัยคุกคามความอยู่รอดของชนิดพันธุ์ในธรรมชาติ โดยเฉพาะสัตว์ป่าและพืชป่าที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ อนุสัญญาฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี ๒๕๑๘ ตลอดระยะเวลาเกือบ ๓๐ ปีที่ผ่านมา ไซเตสนับเป็นอนุสัญญาด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่านานาชาติที่ถูกพูดถึง และมีประสิทธิภาพมากที่สุดฉบับหนึ่ง โดยมีการให้ความคุ้มครองแก่สัตว์และพืชแล้วกว่า ๓ หมื่นชนิด ตั้งแต่เสือโคร่ง ช้างป่า ไปจนถึงไม้มะฮอกกานีและกล้วยไม้ ด้วยการกำหนดรายชื่อสัตว์และพืชเหล่านี้ในบัญชีของไซเตส กลไกสำคัญของอนุสัญญาไซเตสคือการกำหนดให้ประเทศภาคีจะต้องมีมาตรการภายในที่เหมาะสมในการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามอนุสัญญาฯ โดยจะต้องมีการควบคุมการนำเข้า ส่งออก หรือส่งผ่านตัวอย่างชนิดพันธุ์ที่ระบุไว้ในบัญชีของไซเตส และมีบทลงโทษผู้กระทำการฝ่าฝืน ประเทศไทยได

สนธิสัญญาริโอ

เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1947 สหรัฐอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ในละตินอเมริกา ยกเว้นประเทศนิคารากัวและอีเควดอร์ ได้ตกลงทำสนธิสัญญาระหว่างรัฐในอเมริกาด้วยกัน ณ กรุงริโอเดจาเนโร เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สนธิสัญญาริโอ ประเทศเหล่านั้นต่างมุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือกันอย่างมีประสิทธิผล ถ้าหากรัฐในอเมริกาหนึ่งใดถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธหรือถูกคุกคามจาการรุกรานต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1948 ได้มีการจัดตั้งองค์การของรัฐอเมริกัน (Organization of American States) ขึ้น ณ กรุงโบโก ทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม สำนักงานใหญ่ขององค์การโอเอเอสตั้งอยู่ ณ กรุงวอชิงตันดีซี นครหลวงของสหรัฐอเมริกา

สนธิสัญญาโรม

สนธิสัญญาโรม  มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า  สนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป  เป็นความตกลงระหว่างประเทศซึ่งนำไปสู่การก่อตั้ง ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1958 มีการลงนามเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1957 โดย เบลเยียม ฝรั่งเศส   อิตาลี   ลักเซมเบิร์ก   เนเธอร์แลนด์ และ เยอรมนีตะวันตก  คำว่า "เศรษฐกิจ" ถูกลบออกจากชื่อสนธิสัญญา โดยสนธิสัญญามาสตริกต์ ใน ค.ศ. 1993 และสนธิสัญญาดังกล่าวเปลี่ยนใหม่เป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการทำหน้าที่ของ สหภาพยุโรป  เมื่อ สนธิสัญญาลิสบอน มามีผลใช้บังคับใน ค.ศ. 2009 ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเสนอให้ค่อยๆ ปรับภาษีศุลกากรลดลง และจัดตั้งสหภาพศุลกากร มีการเสนอใช้จัดตั้งตลาดร่วมสินค้า แรงงาน บริการและทุนภายในรัฐสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป และยังได้เสนอให้จัดตั้งนโยบายการขนส่งและเกษตรร่วมและกองทุนสังคมยุโรป สนธิสัญญายังได้ก่อตั้งคณะกรรมาธิการยุโรป

สนธิสัญญาโตเกียว

รูปภาพ
พิธีลงนามในอนุสัญญาสันติภาพโตเกียว 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ณ.กรุงโตเกียว อนุสัญญาโตเกียว  ( อังกฤษ :  Tokyo Convention ,  อนุสัญญาสันติภาพโตเกียว  หรือ  สนธิสัญญาโตกิโอ [1] , เนื่องจากแต่ก่อนคนไทยเรียกกรุงโตเกียวว่ากรุงโตกิโอ) เป็นอนุสัญญาสืบเนื่องมาจาก กรณีพิพาทอินโดจีน ในปี  พ.ศ. 2484  ขณะที่การรบยังไม่สิ้นสุดนั้น  ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจใน เอเชีย ขณะนั้น ได้เข้ามาไกล่เกลี่ย ซึ่งประเทศ ไทย และ ฝรั่งเศส ได้ตกลง และหยุดยิงในว้นที่  28 มกราคม   พ.ศ. 2484  ก่อนจะมีการเจรจากันในวันที่  11 มีนาคม   พ.ศ. 2484 [1]  ณ  กรุงโตเกียว  โดยมีนายโซสุเกะ มัดซูโอกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายญี่ปุ่น ฝ่ายไทยมี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์  ที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงการต่างประเทศไทยเป็นหัวหน้าคณะ และฝ่ายฝรั่งเศสมี อาร์เซน อังรี เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงโตเกียวเป็นหัวหน้า ก่อนจะมีการลงนามในอนุสัญญาโตเกียวในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 โดยมี กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เป็นหัวหน้าคณะลงนาม [2] จากอนุสัญญานี้ท

สนธิสัญญาปารีส

สนธิสัญญาปารีส  อาจหมายถึง ความตกลงหลายฉบับที่เจรจาและลงนามกันใน กรุงปารีส   ประเทศฝรั่งเศส เป็นต้นว่า สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1229) , ระหว่า พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส และ เรมงด์ที่ 7 เคานท์แห่งตูลูส เพื่อยุติ สงครามครูเสดอัลบิเจ็นเซียน สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1259) , ระหว่าง พระเจ้าหลุยส์ที่ 10 แห่งฝรั่งเศส  และ  สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ , เฮนรีสละสิทธิในนอร์ม็องดี สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1303) , ระหว่าง พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส  และ  สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1323) ,  หลุยส์ที่ 1 เคานท์แห่งฟลานเดอร์ส สละการอ้างสิทธิใน เซแลนด์ สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1355) , การแลกเปลี่ยนดินแดนระหว่างราชอาณาจักรฝรั่งเศสกับซาวอย สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1623) , ระหว่าง  ฝรั่งเศส ,  ซาวอย  และ  เวนิส  เพื่อทำการฟื้นฟูดินแดน วาลเทลลินา  โดยการพยายามกำจัดกองทหารสเปนที่ตั้งมั่นอยู่ที่นั่น สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1657) , ระหว่าง  อังกฤษ และ  ฝรั่งเศส  เพื่อการเป็นพันธมิตรในการต่อต้าน สเปน สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1763) , ระหว่าง  ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่   ฝรั่งเศส