บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2018

สนธิสัญญาริโอ

เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1947 สหรัฐอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ในละตินอเมริกา ยกเว้นประเทศนิคารากัวและอีเควดอร์ ได้ตกลงทำสนธิสัญญาระหว่างรัฐในอเมริกาด้วยกัน ณ กรุงริโอเดจาเนโร เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สนธิสัญญาริโอ ประเทศเหล่านั้นต่างมุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือกันอย่างมีประสิทธิผล ถ้าหากรัฐในอเมริกาหนึ่งใดถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธหรือถูกคุกคามจาการรุกรานต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1948 ได้มีการจัดตั้งองค์การของรัฐอเมริกัน (Organization of American States) ขึ้น ณ กรุงโบโก ทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม สำนักงานใหญ่ขององค์การโอเอเอสตั้งอยู่ ณ กรุงวอชิงตันดีซี นครหลวงของสหรัฐอเมริกา

สนธิสัญญาโรม

สนธิสัญญาโรม  มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า  สนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป  เป็นความตกลงระหว่างประเทศซึ่งนำไปสู่การก่อตั้ง ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1958 มีการลงนามเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1957 โดย เบลเยียม ฝรั่งเศส   อิตาลี   ลักเซมเบิร์ก   เนเธอร์แลนด์ และ เยอรมนีตะวันตก  คำว่า "เศรษฐกิจ" ถูกลบออกจากชื่อสนธิสัญญา โดยสนธิสัญญามาสตริกต์ ใน ค.ศ. 1993 และสนธิสัญญาดังกล่าวเปลี่ยนใหม่เป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการทำหน้าที่ของ สหภาพยุโรป  เมื่อ สนธิสัญญาลิสบอน มามีผลใช้บังคับใน ค.ศ. 2009 ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเสนอให้ค่อยๆ ปรับภาษีศุลกากรลดลง และจัดตั้งสหภาพศุลกากร มีการเสนอใช้จัดตั้งตลาดร่วมสินค้า แรงงาน บริการและทุนภายในรัฐสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป และยังได้เสนอให้จัดตั้งนโยบายการขนส่งและเกษตรร่วมและกองทุนสังคมยุโรป สนธิสัญญายังได้ก่อตั้งคณะกรรมาธิการยุโรป

สนธิสัญญาโตเกียว

รูปภาพ
พิธีลงนามในอนุสัญญาสันติภาพโตเกียว 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ณ.กรุงโตเกียว อนุสัญญาโตเกียว  ( อังกฤษ :  Tokyo Convention ,  อนุสัญญาสันติภาพโตเกียว  หรือ  สนธิสัญญาโตกิโอ [1] , เนื่องจากแต่ก่อนคนไทยเรียกกรุงโตเกียวว่ากรุงโตกิโอ) เป็นอนุสัญญาสืบเนื่องมาจาก กรณีพิพาทอินโดจีน ในปี  พ.ศ. 2484  ขณะที่การรบยังไม่สิ้นสุดนั้น  ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจใน เอเชีย ขณะนั้น ได้เข้ามาไกล่เกลี่ย ซึ่งประเทศ ไทย และ ฝรั่งเศส ได้ตกลง และหยุดยิงในว้นที่  28 มกราคม   พ.ศ. 2484  ก่อนจะมีการเจรจากันในวันที่  11 มีนาคม   พ.ศ. 2484 [1]  ณ  กรุงโตเกียว  โดยมีนายโซสุเกะ มัดซูโอกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายญี่ปุ่น ฝ่ายไทยมี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์  ที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงการต่างประเทศไทยเป็นหัวหน้าคณะ และฝ่ายฝรั่งเศสมี อาร์เซน อังรี เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงโตเกียวเป็นหัวหน้า ก่อนจะมีการลงนามในอนุสัญญาโตเกียวในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 โดยมี กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เป็นหัวหน้าคณะลงนาม [2] จากอนุสัญญานี้ท

สนธิสัญญาปารีส

สนธิสัญญาปารีส  อาจหมายถึง ความตกลงหลายฉบับที่เจรจาและลงนามกันใน กรุงปารีส   ประเทศฝรั่งเศส เป็นต้นว่า สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1229) , ระหว่า พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส และ เรมงด์ที่ 7 เคานท์แห่งตูลูส เพื่อยุติ สงครามครูเสดอัลบิเจ็นเซียน สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1259) , ระหว่าง พระเจ้าหลุยส์ที่ 10 แห่งฝรั่งเศส  และ  สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ , เฮนรีสละสิทธิในนอร์ม็องดี สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1303) , ระหว่าง พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส  และ  สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1323) ,  หลุยส์ที่ 1 เคานท์แห่งฟลานเดอร์ส สละการอ้างสิทธิใน เซแลนด์ สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1355) , การแลกเปลี่ยนดินแดนระหว่างราชอาณาจักรฝรั่งเศสกับซาวอย สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1623) , ระหว่าง  ฝรั่งเศส ,  ซาวอย  และ  เวนิส  เพื่อทำการฟื้นฟูดินแดน วาลเทลลินา  โดยการพยายามกำจัดกองทหารสเปนที่ตั้งมั่นอยู่ที่นั่น สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1657) , ระหว่าง  อังกฤษ และ  ฝรั่งเศส  เพื่อการเป็นพันธมิตรในการต่อต้าน สเปน สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1763) , ระหว่าง  ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่   ฝรั่งเศส